สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การผลิตปุ๋ยหมัก










การผลิตปุ๋ยหมัก

 

 

การผลิตปุ๋ยหมัก
วันที่ส่ง SMS : 28 พฤศจิกายน 2551
รอบเวลาที่ส่ง : 16:30 น.
ข้อความ :

       ปุ๋ยหมัก(1)สามารถผลิตได้ 3 แบบ คือ 1.การหมักในหลุม 2.การหมักแบบกองพื้น
       ปุ๋ยหมัก(2)และ3.การหมักในของเหลว,มีข้อดี-เสียต่างกันแต่ได้ปุ๋ยคล้ายกัน

 

การหมักให้เศษพืชและสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ รวมทั้งซากสัตว์ให้สลายตัวนั้นอาจทำได้หลายวิธีในทางการเกษตรจะพบอยู่ 3 แบบ คือ 

 


1. การหมักในหลุม วิธีนี้เป็นการหมักเศษอินทรีย์ต่างๆ ในหลุม เช่น หลุมดิน หลุมคอนกรีตหรือในขอบซีเมนต์ เป็นต้น ด้านบนสุดอาจจะมีการกลบด้วยดิน วิธีนี้ไม่มีการกลับกองเศษสารอินทรีย์การหมักจึงเกิดขึ้นในสภาพอับอากาศหรือมีอากาศถ่ายเทได้น้อย การย่อยสลายเกิดขึ้นได้อย่างช้า ๆ อุณหภูมิในระหว่าง การหมักไม่ค่อยสูงมากนัก เชื้อโรค และ ไข่ของแมลงอาจไม่ถูกทำลายโดยความร้อน การสลายตัวของเศษสารอินทรีย์จนกระทั่งได้ปุ๋ยหมักจะใช้เวลานาน อาจมีลิ่นไม่พึงประสงค์ สารอินทรีย์ที่เกิดจากการสลายตัว จะมีมากชนิดกว่าการย่อยสลายในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทดี เช่น กรดอินทรีย์ ฮอร์โมน วิตามิน สารฮิวมัส แอลกอฮอล์ ฟีนอล แร่ธาตุอาหาร เอมไซม์ และ ก๊าซมีเทน เป็นต้น

2. การหมักในของเหลว เป็นการนำเอาเศษวัสดุอินทรีย์ต่างๆ ใส่ลงในภาชนะที่ปิดมิดชิด บรรจุน้ำในสัดส่วนที่พอเหมาะ และสารเร่งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น กากน้ำตาล กากส่าเหล้า และจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลาย การหมักในสภาพแบบนี้เป็นการหมักในสภาพอัยอากาศ วัสดุอินทรีย์ที่ใช้หมักมักจะเป็นเศษพืชหรือซากสัตว์ที่ยังเปียกแฉะ เช่น ผัก ผลไม้ เศาปลา เป็นต้น การย่อยสลายเกิดอย่างช้าๆ อาจมีกลิ่นเหม็น แต่ถ้าจะลดกลิ่นลง และให้เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้น อาจใช้เวลาประมาณ 30 – 45 วันจะต้องมีการให้อากาศอย่างต่อเอง มีสารอนินทรีย์ และสารอินทรีย์เกิดขึ้นระหว่างการย่อยสลายมากมายละลายอยู่ในน้ำคล้ายดันกับสารที่เกิดขึ้นในการหมักแบบที่ 1 (ธงชัย,2544)

3. การหมักแบบกองพื้น การหมักแบบนี้เป็นการหมักแบบให้อากาศ กล่าวคือ มีการกลับกองปุ๋ยค่อนข้างสม่ำเสมอในระหว่างการกอง ซึ่งเป็นการให้ออกซิเจนแก่จุลินทรีย์ การกองแบบนี้จะเกิดความร้อนสูง การย่อยสลายและการปลดปล่อยธาตุอาหารเกิดขึ้นเร็ว เกิดสารตัวกลางขึ้นระหว่างการย่อยสลายน้อยกว่าแบบอื่น


***การหมักทั้ง 3 แบบ จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป แต่ถ้ามีการให้อาหารโดยวิธีการที่เหมาะสมแล้ว จะเป็นปุ๋ยหมักได้เร็ว ไม่มีกลิ่นเหม็น และมีสารอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชที่คล้ายคลึงกัน ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นการหมักในสภาพที่มีการถ่ายเทอากาศที่ไม่ดีแล้ว การสลายตัวเกิดขึ้นอย่างช้าๆ มักมีกลิ่นเหม็นได้

----------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

ดร.ธงชัย มาลา.ปุ๋ยอินทรีย์และชีวภาพ.กรุงเทพฯ : ม.เกษตรศาสตร์,2546.หน้า 252

Tags : การผลิตปุ๋ยหมัก

view